วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ผังงาน ( flowchart )

      เป็นเครื่องมืออีกแบบหนึ่งที่ใช้รูปภาพ  แสดงถึงขั้นตอนการเขียนโปรแกรม ขั้นตอนในการแก้ปัญหาทีละขั้นมีเส้นบอกทิศทางของข้อมูลตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
         ผังงาน  คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณฺ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมทีละขั้นตอน

ประเภทผังงาน
ผังงานที่เราพบเห็นทั่วไปมี 2 ระบบดังนี้
   1. ผังงานระบบ  เป็นผังงานที่ใช้แสดงขั้นตอนการทำงานในระบบงาน ในลักษณะของภาพรวมโดยแสดงทิศทางการทำงานในระบบ
   2. ผังงานโปรแกรม  เป็นผังงานที่แสดงอัลกอริทึมของโปรแกรมในผังงาน การเขียนผังงานชนิดนี้อาจเขียนมาจากผังงานระบบ เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ต้องการ แต่โปรแกรมอาจใช้วิธีการอื่นในการเขียนอัลกอริทึมได้
สัญลักษณ์ของผังงานโปรแกรม ( program flowchart )
       สัญลักษณ์มาตรฐานต่างๆ  ที่เรียกว่า  สัญลักษณ์  ANSI   American  National   Stanard  Institute ) ในการสร้างผังงาน สัญลักษณ์ ดังนี้


รายละเอียดของสัญลักษณ์ผังงาน

1. จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของผังงาน
2. การกำหนดค่าและการคำนวณ และการประมวลผล
3. การรับข้อมูลเข้าและการนำข้อมูลออก
4. การรับข้อมูลเข้าทางแป้นพิมพ์
5. การแสดงผลข้อมูลออกทางจอภาพ
6. การแสดงผลข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์
7. การตัดสินใจ



    1) จุดเริ่มต้นกับจุดสิ้นสุดของผังงาน
     
         สัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับจุดเริ่มต้นกับจุดสิ้นสุด จะใช้สัญลักษณ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมปลายโค้งมน เขียนภาษาอังกฤษเป็นจุดเริ่มต้น และ จุดสิ้นสุด เช่น start / end


    2) การกำหนดค่าและการคำนวณ และการประมวลผล
          สัญลักษณืที่ใช้สำหรับการคำนวณค่า การคำนวณ และ การประมวลผลของผังงาน จะใช้สัญลักษณ์สี่เหลี่ยมพื้นผ้า


    3) การรับข้อมูลเข้าและการนำข้อมูลออก
             การรับข้อมูลเข้าและการนำข้อมูลออก สัญลักษณ์ที่ใช้คือรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ใช้คำอธิบาย "read" , "input" , "scanf" หรือ "รับค่า" ใช้สำหรับการแสดงผล ใช้คำอธิบาย "write" "output","printf หรือ "แสดงค่า"

   4) การรับข้อมูลเข้าทางแป้นพิมพ์
            สัญลักษณืของผังงานที่ใช้สำหรับป้อนข้อมูลเข้าทางแป้นพิมพ์ ใช้สัญลักษณืเป็น
สี่เหลี่ยมคางหมูแบบหงายขึ้น



    5) การแสดงผลข้อมูลออกทางจอภาพ
        สัญลักษณ์สำหรับแสดงผลออกทางจอภาพของผังงาน ใช้สัญลักษณ์ตามรูปด้านล่างนี้


     6) การแสดงผลข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์
           สัญลักษณ์แสดงผลลัพธ์ออกทางเครื่องพิมพ์ เพื่อแสดงข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์เข้าและออก อย่างละ 1 ทิศทาง

ึ    7) การตัดสินใจ
       สัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับตรวจสอบเงื่อนไข เพื่อตัดสินใจเลือกการกระทำ สัญลักษณ์ที่ใช้ในการกำหนดด้านในคือ true , false , <.>


กำหนดเงื่อนไข แบบ 2 ทางเลือก

กำหนดเงื่อนไข แบบหลายทางเลือก


คำสั่งควบคุมวนซ้ำแบบ for
      คำสั่งวนซ้ำการควบคุมการทำงานวนซ้ำ ลักษณะแจ้งจำนวนรอบการทำงาน อาจป้อนจำนวนผ่านทางแป้นพิมพ์ เพื่อจัดเก็บตัวแปร ดังนั้นในส่วนของคำสั่งต้องการค่า 3 ค่า คือ ค่าเริ่มต้นนับรอบ ค่าสิ้นสุด และอัตราเพิ่มแต่ละรอบ


คำสั่งควบคุมวนซ้ำแบบ while
    ควบคุมการทำงานวนซ้ำ กรณีระบบงานมีการตรวจสอบเงื่อนไข การเขียนคำสั่ง while ต้องกำหนดนิพจน์แบบตรรกะเป็นเงื่อนไขให้ระบบตรวจสอบเงื่อนไขในหน่วยความจำเป็น 1 (ค่าจริง) หรือได้ค่าเป็น 0 (ค่าเท็จ) กรณีค่านิพจน์ตรรกะเป็นจริง จึงวนซ้ำกลุ่มคำสั่งภายในลักษณ์ {} ต่อจาก while เมื่อนิพจน์ตรรกะได้ค่าเป็นเท็จจะดำเนินงานคำสั่งหลังเครื่องหมายปีกกาผิด {} ของคำสั่ง while


คำสั่งควบคุมการวนซ้ำแบบ do-while
    ประสิทธิภาพคำสั่ง ควบคุมการวนซ้ำ ควบคุมการวนซ้า ลักษณะทำงาน 1 รอบก่อน แล้วจึงตรวจสอบนิพจน์ตรรกะ ทั้งนี้หากค่านิพจน์ตรรกะ เป็นจริง จะวนซ้ำ แต่หากค่าเป็นเท็จจะไม่วนซ้ำ


การเขียนผังงานแบบมีทางเลือก

    ตัวอย่าง เขียนผังงานแสดงค่าของตัวเลขที่เป็ขคู่ หรือ เลขคี่ แล้วรับค่าข้อมูลตัวเลขทางแป้นพิมพ์ จากปัญหาดังกล่าว สามารถเขียนเป็นขั่นตอน ดังนี้
   - รับตัวเลข เก็บไว้ในตัวแปร A
   - ถ้า A MOD 2 = 1 จริง ให้แสดงข้อความว่า เลขคี่
   - ถ้า A MOD 2 = 1 เท็จ ให้แสดงข้อความว่า เลขคี่
          ทั้งนี้ MOD (%) คือ การหารเอาเฉพาะเศษ


แบบวนรอบ ( loop structure)
      การทำงานแบบวนรอบหรือทำซ้ำมีการทำงานที่มีการตัดสินใจตามเงื่อนไขการทำซ้ำ เงื่อนไขจะมีผลกระบวนการหนึ่งลักษณะทำงานจะคล้ายกับโครงสร้างการทำงานแบบเลือก แต่การเลือกนี้เป็นการตัดสินใจว่าจะทำงานในกระบวนการทำงานที่ผ่านมาซ้ำหรือไม่ แผนผังที่เขียนตามโครงสร้างการทำงานลักษณะนี้

 ตัวอย่าง จงเขียนผังงานแสดงการคำนวณหาผลบวกของตัวเลย 1 ถึง 10



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น